Posts

e-book กับจุดจบของสิ่งพิมพ์แบบที่คุณเคยรู้จัก

ที่จริงว่าจะจั่วหัวเป็นภาษาประกิตว่า “e-book and the end of publishing as you know it” แต่เขียนเป็นไทยน่าจะเข้าใจได้ง่ายกว่า หรือหากจะให้แรงหน่อยอาจเขียนเป็น “e-book ส่งเสริมหรือทำลายวงการหนังสือ” แต่เกรงว่าจะแรงไปนิด เอาแค่สะกิดต่อมรับรู้กันพองามละกันนะครับ 😉

ก่อนจะไปถึงเรื่องว่า e-book มีผลกระทบอย่างไรกับวงการหนังสือ คงต้องดูกันก่อนว่า e-book ปัจจุบันหน้าตาอย่างไร มีกี่จำพวก เพราะเดี๋ยวนี้เราไม่ค่อยมองหรือนึก ถึง e-book บนคอมกันซักเท่าไหร่แล้ว พอพูดขึ้นมาปั๊บก็มักจะนึกถึงบน reading device ทั้งหลายแหล่ เช่น iPad, Kindle, smartphone ที่รวมกันทุกระบบแล้วนับหลายล้านเครื่องในเมืองไทย และบรรดาแท็บเบล็ตระบบ Android ทั้งหลายแหล่ที่จะพาเหรดกันออกมาเต็มตลาดในปีนี้ในราคาที่ถูกจนน่าตกใจ เช่น 3-4 พันบาท เป็นต้น

e-book ที่จะอ่านได้และคาดว่าจะเป็นที่นิยมบนอุปกรณ์เหล่านี้ เท่าที่เห็นอาจจะมีราวๆ สามกลุ่ม (แต่ไม่ได้จำกัดแค่นี้ เพราะยังคงมีคนคิดอะไรใหม่ๆ ออกมาเรื่อยๆ) ดังนี้

ปก "The Innovation secret of Steve Jobs" ฉบับ e-book บน iPad ยังเป็นตัวหนังสือล้วนๆ เหมือนฉบับพิมพ์

กลุ่มแรก คือพวกที่มีตัวหนังสือและภาพนิ่งล้วนๆ อย่างที่ Amazon ขายอยู่บน Kindle store, Apple ขายอยู่ใน iBookstore ไม่ว่าจะเป็นภาพสีหรือขาวดำก็ตาม กลุ่มนี้อาจเรียกได้ว่าเป็นการจำลองแบบจากหนังสือเล่มที่เป็นฉบับพิมพ์จริงมาโดยตรงหน้าต่อหน้า ไม่ว่าจะเป็นหนังสือนิยาย วรรณกรรม สารคดี วิชาการ บริหารธุรกิจ ฯลฯ

โดยทั่วไปการแปลงหนังสือกลุ่มนี้เป็น e-book จะมีการเพิ่มความสามารถปรับขนาดฟอนต์ในการแสดงผลให้ใหญ่- เล็กตามหน้าจอหรืออุปกรณ์ที่ใช้ได้ แต่บางทีถ้าเป็นหนังสือที่มีภาพประกอบที่วางแบบสวยงาม ชิดซ้าย ชิดขวา หรือวางข้อความล้อมรูป การปรับฟอนต์ก็พาลทำให้หน้าที่จัดเลย์เอาท์ไว้ดีๆ รวนไปเสียจนอ่านไม่รู้เรื่องก็มี อันนี้นับเป็นข้อจำกัดอันหนึ่งในการแปลงไฟล์ที่จัดหน้าแบบหนังสือให้กลายเป็น e-book ซึ่งไม่ใช่ว่าจะแก้ไขไม่ได้ แต่ต้องจัดการกันอย่างพิถีพิถันหน่อย

กลุ่มที่สอง คือพวกที่เพิ่มมัลติมีเดีย วิดีโอ เสียงประกอบ ฯลฯ เข้าไป เช่นบางภาพแทนที่จะดูภาพนิ่งก็กลายเป็นวิดีโอแทน มีเสียงบรรยายประกอบบางช่วง มีดนตรีประกอบเพื่อสร้างบรรยากาศในการอ่าน ซึ่งเป็นไปได้ทั้งนิยาย (ที่อาจจะต้องสร้างบางฉากเป็นหนังสั้นแบบมิวสิควิดีโอหรือ mv) หรือสารคดีที่ผสมกันระหว่างคำบรรยายกับภาพและเสียง

หนังสือนำเที่ยวเชียงใหม่ (ซ้าย) VS แอพพลิเคชั่นนำเที่ยวเชียงใหม่บน iPhone (ขวา) พัฒนาโดยโปรวิชั่น หนังสือดูเพิ่มที่ www.provision.co.th (ขอโฆษณาหน่อยนะครับ สำหรับแอพคงจะเปิดให้โหลดได้เร็วๆนี้ครับ)

กลุ่มที่สาม อาจจะเรียกว่ามีพัฒนาการขึ้นไปอีกขั้น จนไม่แน่ใจว่ายังควรจะเรียกว่า e-book, application หรือ game กันแน่ คือกลุ่มที่เพิ่มเอฟเฟ็คต์และความสามารถในการโต้ตอบกับผู้อ่านเข้าไปด้วย เช่นหนังสือนิยายผจญภัยประเภทที่ให้ผู้อ่านเลือกฉากที่จะเล่น (อ่าน) เองได้ หนังสือท่องเที่ยวที่มีแผนที่และข้อมูลสถานที่ต่างๆ สัมพันธ์กับตำแหน่งปัจจุบันของผู้ใช้ เป็นต้น

จากที่เล่ามาจะเห็นว่า ทั้งหนังสือฉบับพิมพ์แบบเดิมและ e-book ในกลุ่มแรกที่เป็นพวก e-book แบบดั้งเดิมหรือ traditional น่าจะได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิตอลค่อนข้างมาก ด้วยความที่มันมีปริมาณข้อมูลค่อนข้างน้อยและนิ่ง ถ้าเป็นหนังสือเล่มก็อาจถูกสแกน (ความจริงเดี๋ยวนี้ไม่ต้องสแกน แค่ใช้กล้องในมือถือระดับไม่น้อยกว่า 5 ล้านพิกเซลก็ถ่ายชัดจนอ่านได้สบายแล้ว) ถึงแม้จะมีระบบป้องกันที่เรียกว่า DRM (Digital Right Management) ก็ยากจะป้องกันได้ทั่วถึงในระยะยาว (ปัญหาคล้ายกับที่อุตสาหกรรมเพลงเจอมาแล้วและเลิกใช้ DRM ไปในที่สุด แต่วงการหนังยังใช้อยู่) ยิ่งเป็นหนังสือเป็นหน้าๆ พอลงในจอ e-book ยิ่งก๊อปปี้ง่าย แค่ capture หน้าจอก็ได้แล้ว ยิ่งถ้า เนื้อหาหรือ content เป็นแบบข้อความนิ่งๆ เช่น วรรณกรรม ยิ่งมีโอกาสถูกก๊อปปี้ได้มากและไม่มีโอกาสที่จะปล่อย content ใหม่ออกมาทดแทนง่ายๆ เรียกว่าหลุดแล้วหลุดเลย ต่างกับพวกที่เป็นสาระความรู้หรือ non-fiction ที่ยังมีการอัพเดทใหม่ๆ ออกมา ทำให้ content ที่ถูกก๊อปปี้ไปด้อยค่าเพราะล้าสมัยไปตามเวลา

Read more

Nano Edition หรือนี่คือเทรนด์ของวารสารเพื่อเปลี่ยนผ่านสู่ iPad ?

เมื่อวานผมแวะร้านหนังสือในสนามบินฮ่องกง เห็นเทรนด์วารสารหลายหัวมากปรับเล่มเล็กลง บ้างก็เรียกว่าเป็น Nano edition ดูแล้วเหมือนว่าเทรนด์ใหม่วารสารฉบับพิมพ์คือการปรับรูปเล่มให้เล็กลง พกสะดวก และขนาดหน้าใกล้จอ iPad มากขึ้น

Nano1_resize

ที่จริงวารสาร small size แบบนี้มีทำกันมาก่อนแล้ว แต่ตอนนี้เริ่มเห็นมากขึ้น คาดว่าเตรียมเผื่อแปลงไปลง tablet ขนาด 9 นิ้วเช่น iPad ทั้งนี้การปรับหน้ากระดาษวารสารกับหน้าจอให้ขนาดใกล้กัน มองอีกมุมอาจเป็นอุบายปรับให้ผู้อ่านคุ้นชินกับแบรนด์นั้นในไซส์เล็กที่จะได้เห็นบ่อยขึ้นในอนาคตบนจอ tablet และยังแก้ปัญหาการเอาวารสารในขนาดเดิมลง tablet ที่ทำกันอยู่เดิมด้วย ซึ่งที่ทำกันอยู่มักใช้วีธีย่อทั้งหน้า เช่นเดียวกับการย่อฉบับพิมพ์ ซึ่งถ้าเป็นภาษาอังกฤษ การย่อขนาดวารสารยังอ่านได้สบายบนฉบับพิมพ์ เพราะความละเอียดของการพิมพ์จะสูงมาก (ความละเอียดเม็ดสกรีนสี่สีอยู่ที่ 150-200 จุดต่อนิ้ว) แต่บนจอ tablet ด้วยเทคโนโลยีปัจจุบันความละเอียดยังต่ำอยู่ เช่นประมาณ 100 จุดต่อนิ้ว ซึ่งไม่พอ ทำให้ผู้ใช้อาจต้องคอยซูมเข้าซูมออกตอนอ่าน ที่หนักกว่านั้นคือถ้าเป็นฟอนต์ภาษาไทยซึ่งมีหาง มีขีดเล็กๆ อย่างสระอี กับสระ อือ จะยิ่งอ่านยาก แต่หากปรับลดขนาดลงลงแล้วจัดหน้าใหม่ตามขนาดที่เหมาะสมด้วยเลย ช่วยให้อ่านลื่นไม่ต้องซูม

Nano2_resize

อีกอย่างขนาดหน้าวารสารที่ใกล้กับ tablet เช่น iPad หากเปลี่ยนเป็น digital edition อาจไม่ต้องใส่ลูกเล่นมากมาย และลดภาระการจัดหน้าใหม่ คือแทนที่วารสารฉบับดิจิตอลจะเน้นลูกเล่นเช่น double layout (portrait/landscape) และอื่นๆ ซึ่งบ้างก็สับสน บ้างก็ ok แต่รวมๆ แล้วก็มักจะแย่งความสนใจไปจากสาระหลักที่จะสื่อ ก็น่าทำให้วารสารฉบับดิจิตอล เน้นที่สาระหรือ content เป็นหลักเช่นเดิม แค่เพิ่ม multimedia, link และคุณสมบัติ interactive ต่างๆ เข้ามาตรงที่มีประโยชน์จริงๆ มากกว่า ในความเห็นผมคิดว่าการนำเสนอวารสารดิจิตอลในรูปแบบ “ใช้ effect เพียงเท่าที่จำเป็นและมีประโยชน์จริง” ผู้อ่านน่าจะรับและปรับได้ง่ายกว่าในระยะยาว

Electronic Publication

ผมได้รับเชิญจากชมรมการจัดพิมพ์อิเล็กทรอนิกไทย (TEPCLUB) ให้ไปบรรยายเรื่อง Electronic Publication (Module 1 of 4) วันที่ 30 ตุลาคม 2553 ที่ชั้น 7 ห้อง 703 อาคารพิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีทางภาพ ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางภาพถ่ายและเทคโนโลยีทางการพิมพ์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Module นี้เป็นการแนะนำอย่างกว้างๆ ถึงเทคโนโลยี E-publishing (E-book, E-Magazine, etc.) และผลกระทบต่อผู้เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมนี้ใน ด้านต่างๆ เช่น ผู้อ่าน ผู้เขียน สำนักพิมพ์ โรงพิมพ์ สายส่ง ร้านหนังสือ (บรรยายร่วมกับ อ.ธีระ ปิยคุณากร และคุณประสิทธิ์ คล่องงูเหลือม)

อีก 3 โมดูลที่เหลือจะเริ่มตั้งแต่เสาร์ที่ 6 พฤศจิกายน 2553 เป็นต้นไป ดูรายละเอียดได้ที่ http://www.tepclub.org/?page_id=1152 นะครับ

ส่วนสไลด์ที่บรรยาย ในรูปแบบ PDF ดาวน์โหลดได้โดยคลิกที่รูปข้างล่างเลยครับ

Streak: คอมพิวเตอร์ Tablet ใหม่จาก Dell -บางเบาแต่จอเล็ก

หลายคนคงเคยได้ยินข่าว Dell Mini 5 ที่เป็นคอมพิวเตอร์แบบ Tablet จาก Dell และใช้ระบบปฏิบัติการ Android ความจริงชื่อ Mini 5 เป็น code name หรือชื่อรหัสในระหว่างพัฒนาครับ ตอนนี้ได้ชื่อใหม่เป็นทางการแล้วคือ “Streak” ซึ่งน่าจะหมายถึงสายฟ้าแลบ(หลากสีสัน) เพราะดีไซน์แนวแฟชั่น มีหลายสีสันให้เลือก และรูปร่างเล็กกระทัดรัด เบา พกพาสะดวกกว่า Tablet เต็มรูปแบบอย่าง iPad แต่ก็ต้องแลกมาด้วยขนาดจอภาพ (และคีย์บอร์ดแบบทัชสกรีน) ที่เล็กกว่า คือ 5 นิ้ว ความละเอียดระดับ WVGA (800×480) ส่วนรุ่น 7 นิ้วจะออกปลายปี และ 10 นิ้วปีหน้า ตามข่าวบอกว่าจะมีกล้อง 5 ล้านพิกเซลด้านหลังพร้อมไฟแฟลช ด้านหน้ามีกล้องสำหรับ video call รายละเอียดดูได้หลายเว็บ เช่น engadget.com

รวมลิงค์วิดีโอที่เกี่ยวกับ e-book

รวมลิงค์วิดีโอที่เกี่ยวกับ e-book ครับ ลองดูกันเล่นๆ

อันนี้เป็น mock up หรือหนังตัวอย่าง (แต่ยังไม่ใช่ของจริง) ของสำนักพิมพ์ Editis ทำมาให้ดูพอเป็นไอเดียว่าโลกและชีวิตจะเปลี่ยนไปยังไงบ้างถ้าเรามี E-book ใช้กันแพร่หลาย

Read more

iPad : ฤาจะเป็นแพลทฟอร์มนี้ที่เปลี่ยนโลก ?

หมายเหตุ:

  1. บท ความนี้ตีพิมพ์ลงคอลัมน์ Plus Tag ในวารสาร D+Plus ปีที่ 14 ฉบับที่ 79 กุมภาพันธ์ 2553 หน้า 10-13 ซึ่งจะดูทั้งเล่มในแบบ PDF ได้ที่นี่
  2. บทความนี้เขียนขึ้นก่อนการเปิดตัว GTablet ของ Google

D+Plus ปีที่ 14 ฉบับที่ 79

มเชื่อว่าใครๆ ก็คงเห็นข่าวการเปิดตัวคอมพิวเตอร์แบบ tablet ในชื่อ iPad ของแอปเปิลเมื่อปลายเดือนมกราคมที่ผ่านมา ซึ่งเป็นข่าวฮือฮากันไปทั่วโลก ซึ่งปฏิกิริยาของผู้คนทั่วไปต่อข่าวนี้ก็หลากหลาย บ้างก็ตื่นเต้นรอคอย บ้างก็ผิดหวัง บ้างก็สงวนท่าที และสำหรับใครที่ยังไม่ได้อ่านรายละเอียด ขอเก็บมาสรุปสั้นๆ และเล่าขยายอีกทีดังนี้ครับ

iPad : คอมพิวเตอร์รูปลักษณ์ใหม่จาก Apple

iPad : คอมพิวเตอร์รูปลักษณ์ใหม่จาก Apple (ภาพจาก www.apple.com)

iPad เป็นคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในรูป ?Tablet? ที่จะเรียกว่า ?สมุดบันทึก? หรือ ?แผ่นกระดาน? ก็ได้ มีขนาดประมาณ 19 x 24 นิ้ว คือกว้างและยาวกว่าวารสาร D+ Plus ฉบับที่คุณถืออยู่นี้ออกไปอีกข้างละประมาณ 2 เซนติเมตร หนาประมาณครึ่งนิ้วหรือ 1.3 เซนติเมตร หนักประมาณ 7- 8 ขีด แล้วแต่รุ่น เรียกว่าเบากว่าโน้ตบุ๊คขนาดเล็กหรือเน็ตบุ๊คอยู่ประมาณ 20 -30% โดยที่ทั้งเครื่องมีแค่จอภาพแบนๆ ชิ้นเดียว ไม่มีคีย์บอร์ดจริงติดมาด้วย โดยมีคีย์แบบสัมผัสให้บนจอ เช่นเดียวกับ iPhone (แต่สามารถใช้คีย์บอร์ดจริงแบบ Bluetooth เชื่อมต่อเข้ามาได้) หน้าจอสีขนาด 9.7 นิ้ว ความละเอียด 1024 x 768 จุด เป็นระบบสัมผัสแบบ capacitive แบบเดียวกับ iPhone คุณจึงสามารถใช้นิ้วมือลากเพื่อสั่งการได้เหมือนกัน ใช้ซีพียูที่เรียกว่า A4 ความเร็ว 1 GHz ซึ่งทางแอปเปิลผลิตเอง แต่ที่จริงก็คือซื้อลิขสิทธิ์ซีพียู Cortex-A9 จากบริษัท ARM ผู้นำเทคโนโลยีซีพียูประหยัดพลังงานในอุปกรณ์พกพาทั้งหลายมาพัฒนาต่อให้เป็นของ iPad โดยเฉพาะ ซึ่งก็คล้ายกับซีพียูที่ออกแบบโดย ARM เช่นกันซึ่งใช้ใน iPhone (ความเร็วอยู่ที่ 400 ? 600 MHz) และผลิตโดย Samsung ดังนั้น iPad จึงสามารถใช้ iPhone OS 3.2 และโปรแกรมต่างๆ ได้เหมือนกัน แบตเตอรี่ใช้งานได้ 10 ชั่วโมง และปิดไว้ได้โดยไม่ต้องชาร์จถึง 14 วัน (คาดกันว่าซีพียูตัวนี้อาจจะใช้ใน iPhone รุ่นถัดไปด้วย)

Read more