Posts

ความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ e-book (3)

3. E-book จะมีความสามารถในการทำ interactive กับผู้อ่านได้มากขึ้น

ข้อนี้ก็จริงแค่บางส่วน เพราะการทำ interactive ต้องอาศัยความสามารถในการพัฒนาเนื้อหาไปพร้อมๆกับการใช้ความสามารถของซอฟต์แวร์สร้าง e-book แต่สำนักพิมพ์ส่วนใหญ่ โดยเฉพาะที่ทำหนังสือเล่ม อาจคุ้นเคยกับการสร้างภาพและตัวหนังสือนิ่งๆ เป็นหลัก การทำ interactive ให้มีปฏิสัมพันธ์กับผู้ใช้ การถ่ายวิดีโอ ใส่เสียงประกอบ ฯลฯ อาจกลายเป็นหน้าที่ของผู้เขียนที่จะต้องคิดเตรียมมาตั้งแต่ต้นทาง แล้วใช้เครื่องมือง่ายๆ ทำเองเลย เช่น iBooks Author ในแพลทฟอร์มระบบ iOS ของ Apple มากกว่า

25550706-102249.jpg
[e-book ที่สร้างจาก โปรแกรม iBooks Authors บนเครื่อง Mac]

4. E-book จะมีหน้าตาสวย และลูกเล่นแบบ e-magazine

อันนี้ในอนาคตน่าจะได้เหมือนๆกันหมดครับ ส่วนในปัจจุบันก็แล้วแต่ฟอร์แมทของร้านออนไลน์แต่ละแห่ง ถ้าเป็นร้านออนไลน์ของไทยส่วนใหญ่จะจัดหน้าสวยเหมือนหนังสือ คือหน้าต่อหน้า เพราะร้านออนไลน์บ้านนิยมแปลงไฟล์ที่สำนักพิมพ์ส่งมาให้ในรูปแบบ PDF มาเป็น e-book โดยตรงหน้าต่อหน้า ก็เลยได้สวยเท่าหนังสือเล่มฉบับพิมพ์ แต่ไม่มีอะไรมากกว่านั้น ซึ่งการทำแบบนี้มีทั้งข้อดีและข้อเสีย ข้อดีคือหน้าต่อหน้าอ้างอิงได้ตรงกับฉบับพิมพ์ การจัดรูปแบบของข้อความในแต่ละหน้าก็อยู่ครบ ไม่ว่าจะเป็นตำแหน่งของรูปและข้อความ แต่ข้อเสียคือไม่สามารถปรับขนาดฟอนต์ให้ตัวใหญ่หรือเล็ก แล้วให้มีการจัดข้อความใหม่ตามขนาดอักษรที่เลือก (reflow text) ได้ ต้องใช้การซูมเข้าออกทั้งหน้าเท้านั้น ต่างกับฟอร์แมทของต่างประเทศอย่าง Amazon ที่เดิมใช้แบบข้อความลื่นไหลไปกับภาพ ทำให้ปรับขนาดอักษรให้อ่านสะดวกตามความชอบแต่ละคนได้ ซึ่งเหมาะกัับหนังสือที่ข้อความเยอะ ไม่เน้นภาพ และไม่ fix ตำแหน่งภาพว่าต้องอยู่ตรงกับข้อความ แต่ถ้าเป็นหนังสือที่มีภาพเป็นหลักจะดูยากมากและไม่น่าอ่านเลย

25550706-102454.jpg
[e-book แบบ PDF ที่นิยมใช้กันในร้านออนไลน์ของไทย]

25550706-102505.jpg
[e-book แบบที่ปรับขนาดฟอนต์และ reflow text ได้ อย่างของ Amazon Kindle ซึ่งตำแหน่งและจำนวนหน้าจะไม่คงที่ และที่สำคัญคือไม่สวยเอาซะเลย]

อันนี้คงต้องรอมาตรฐานใหม่ๆ ที่เพิ่งประกาศใช้ เช่น epub 3 ซึ่งจะเข้ามาช่วยในเรื่องนี้ แต่ก็ต้องอาศัยเครื่องมือจัดหน้าเช่น Adobe InDesign เวอร์ชั่นใหม่ๆ หรือ Apple iBooks Author แถมฟอร์แมทที่เอาไปใช้กันจริงๆ ก็เป็น อะไรที่ based-on แต่ไม่ใช่ fully compatible กับ epub 3 เสียอีก ไม่ว่าจะเป็นฟอร์แมทของ iBooks Author หรือ Amazon Kindle ตัวใหม่ก็ตาม แปลว่าเวลาจัดหน้าแล้วอาจมีการขยับหน้าตำแหน่งไปได้ ขึ้นกับความ compatible ของเครื่องมือด้านซอฟต์แวร์ที่ใช้ แถมยังต้องแปลงกันใหม่ ตรวจสอบและปรับแก้ต่างหากสำหรับแต่ละฟอร์แมทอีก น่าปวดหัวมิใช่น้อยเลย ;(

5. DRM สามารถป้องกันการก๊อปปี้ e-book ได้เกือบ 100%

อันนี้ใครที่ทำงานกับคอมพิวเตอร์มาบ้างน่าจะพอบอกได้ด้วย sense แล้วว่ามันไม่จริง ป้องกันได้ก็แกะได้ เพียงแต่ความสะดวกยากง่ายแค่ไหนเท่านั้น คือผู้ใช้ทั่วๆไปอาจไม่ทำ แต่ถ้าเป็นนัก crack มือดีๆก็คงทำได้ไม่ยาก แต่ที่สำคัญผมว่าต้องเข้าใจก่อนว่าทุกอุปกรณ์สามารถ capture screen ได้ แถมความละเอียดหน้าจอก็สูงขึ้นทุกที ดังนั้นถ้า capture หน้าจอหนังสือไปทีละหน้าโดยการกดเพียงไม่กี่ปุ่ม จะเร็วและง่ายกว่าการเอาหนังสือเล่มไปถ่ายเอกสารเสียอีก อันนี้เป็นความสามารถในตัวระบบปฏิบัติการทั้งค่าย Android และ iOS จึงป้องกันได้ยาก ดังนั้นการป้องกันด้วย DRM จึงช่วยได้แค่บางส่วนเท่านั้น ยิ่งถ้าหนังสือ e-book ของคุณเป็นแบบ PDF ที่พูดถึงในหัวข้อก่อน คือมีรูปแบบหน้าต่อหน้าเหมือนฉบับพิมพ์ ก็ยิ่งสะดวกในการก๊อปปี้หน้าต่อหน้าไปใหญ่ แต่ถ้าเป็นพวก e-magazine ที่มีลูกเล่นหมุนแนวนอนอย่างแนวตั้งอีกอย่าง หรือเลื่อนอ่านขึ้นลงเฉพาะแต่ละบทความ คือไม่ได้เรียงหน้าต่อหน้าแบบฉบับพิมพ์ แถมมี interactive หรือมัลติมีเดียฝังมาด้วย อันนี้จะก๊อปปี้หน้าจอลำบากกว่า

สรุปคือการป้องกันในโลกนี้ไม่มีอะไร 100% ทำอย่างไรให้ผู้ใช้อ่านสะดวก และยอมจ่ายเงินซื้อน่าจะเป็นวิธีตอบโจทย์ที่ดีกว่า เรื่องนี้คงไม่มีทางออกที่ตายตัว เหมือนอย่างเพลงที่ขายกันบนเน็ตตอนนี้ก็เลิกระบบ DRM หมดแล้ว ในขณะที่ภาพยนตร์ที่ขายบนเน็ตยังใช้ DRM กันอยู่ คำถามคือแล้วหนังสือจะใช้แบบไหน แต่ละร้านออนไลน์ แต่ละสำนักพิมพ์คงต้องไปหาคำตอบเองครับ

ความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ E-book (2)

2. E-book จะมาทดแทนหนังสือฉบับพิมพ์ และทำให้หนังสือเล่มขายได้น้อยลง

25550704-103033.jpg

[Newsstand ใน iPad ทำให้การเลือกอ่านวารสารต่างๆ ในรูปแบบ e-magazine กลายเป็นเรื่องธรรมดาๆ การหยิบหนังสือจาก Bookshelf ของ Amazon, iBooks หรือร้านออนไลน์อื่นๆ ของไทยก็น่าจะค่อยๆกลายเป็นเรื่องธรรมดาไปในไม่ช้า]

ข้อนี้ต้องแยกประเด็นว่า “หนังสือ” อะไร ถ้าเป็นหนังสือพิมพ์หรือนิตยสาร ประเภทที่เราอ่่านกันผ่านๆ อ่านแล้วก็ทิ้งไป หรือเรียกว่า casual reading นั้นน่าจะเริ่มเห็นผลกระทบของ e-book หรือ e-magazine มากขึ้นทุกที คาดกันว่าในไม่ช้านิตยสารฉบับพิมพ์คงจะค่อยๆ หายไปหมด แบบเดียวกับที่หนังสือพิมพ์ต้องไปขึ้นเว็บหรือปล่อยข่าวออนไลน์กันหมดแล้วในตอนนี้ แต่ถ้าเป็นหนังสือเล่มแบบที่อ่านเอาจริงเอาจังหรือ serious reading นั้นน่าจะเห็นผลช้ากว่า หลายแหล่งคาดกันว่าหนังสือเล่มจะไม่ถึงกับหายไปเลย แต่จะค่อยลดการเติบโตลงจนถึงขั้นไม่โตหรือหดตัวลงอย่างช้าๆ

แต่อีกสิ่งที่จะเกิดขึ้นคือเราจะมีหนังสือแบบ e-book ให้เลือกอ่านกันมากมายกว่าเดิม เพราะหนังสืออีกจำนวนมากที่ไม่เคยมีโอกาสตีพิมพ์เพราะคาดว่ามีผู้อ่านจำนวนน้อยเกินไป ไม่คุ้มต้นทุนในการผลิต เช่น สีทั้งเล่ม ก็จะมีโอกาสพิมพ์ออกมาในรูปแบบ e-book มากขึ้น รวมทั้งนักเขียนหน้าใหม่ๆ ที่สร้างงานเองแล้วทำออกมาเป็น e-book เข้าร้านออนไลน์เลยโดยไม่ผ่านสำนักพิมพ์ก็จะมีมากขึ้น แต่ขณะเดียวกันการที่ไม่มีบรรณาธิการคอยตรวจแก้ไข คัดกรอง ก็จะทำให้มีงานที่ไม่ได้คุณภาพหลุดออกมาวางตลาดมากขึ้น ทำนองเดียวกับการเขียนนิยายให้อ่านฟรีบนเว็บที่มีอยู่เป็นหมื่นเป็นแสนเรื่อง ซ้ำกันไปลอกกันมาบ้าง ที่ดีโดดเด่นก็มีบ้าง ปะปนกันไป

[ยังมีต่อครับ…]

e-book กับจุดจบของสิ่งพิมพ์แบบที่คุณเคยรู้จัก

ที่จริงว่าจะจั่วหัวเป็นภาษาประกิตว่า “e-book and the end of publishing as you know it” แต่เขียนเป็นไทยน่าจะเข้าใจได้ง่ายกว่า หรือหากจะให้แรงหน่อยอาจเขียนเป็น “e-book ส่งเสริมหรือทำลายวงการหนังสือ” แต่เกรงว่าจะแรงไปนิด เอาแค่สะกิดต่อมรับรู้กันพองามละกันนะครับ 😉

ก่อนจะไปถึงเรื่องว่า e-book มีผลกระทบอย่างไรกับวงการหนังสือ คงต้องดูกันก่อนว่า e-book ปัจจุบันหน้าตาอย่างไร มีกี่จำพวก เพราะเดี๋ยวนี้เราไม่ค่อยมองหรือนึก ถึง e-book บนคอมกันซักเท่าไหร่แล้ว พอพูดขึ้นมาปั๊บก็มักจะนึกถึงบน reading device ทั้งหลายแหล่ เช่น iPad, Kindle, smartphone ที่รวมกันทุกระบบแล้วนับหลายล้านเครื่องในเมืองไทย และบรรดาแท็บเบล็ตระบบ Android ทั้งหลายแหล่ที่จะพาเหรดกันออกมาเต็มตลาดในปีนี้ในราคาที่ถูกจนน่าตกใจ เช่น 3-4 พันบาท เป็นต้น

e-book ที่จะอ่านได้และคาดว่าจะเป็นที่นิยมบนอุปกรณ์เหล่านี้ เท่าที่เห็นอาจจะมีราวๆ สามกลุ่ม (แต่ไม่ได้จำกัดแค่นี้ เพราะยังคงมีคนคิดอะไรใหม่ๆ ออกมาเรื่อยๆ) ดังนี้

ปก "The Innovation secret of Steve Jobs" ฉบับ e-book บน iPad ยังเป็นตัวหนังสือล้วนๆ เหมือนฉบับพิมพ์

กลุ่มแรก คือพวกที่มีตัวหนังสือและภาพนิ่งล้วนๆ อย่างที่ Amazon ขายอยู่บน Kindle store, Apple ขายอยู่ใน iBookstore ไม่ว่าจะเป็นภาพสีหรือขาวดำก็ตาม กลุ่มนี้อาจเรียกได้ว่าเป็นการจำลองแบบจากหนังสือเล่มที่เป็นฉบับพิมพ์จริงมาโดยตรงหน้าต่อหน้า ไม่ว่าจะเป็นหนังสือนิยาย วรรณกรรม สารคดี วิชาการ บริหารธุรกิจ ฯลฯ

โดยทั่วไปการแปลงหนังสือกลุ่มนี้เป็น e-book จะมีการเพิ่มความสามารถปรับขนาดฟอนต์ในการแสดงผลให้ใหญ่- เล็กตามหน้าจอหรืออุปกรณ์ที่ใช้ได้ แต่บางทีถ้าเป็นหนังสือที่มีภาพประกอบที่วางแบบสวยงาม ชิดซ้าย ชิดขวา หรือวางข้อความล้อมรูป การปรับฟอนต์ก็พาลทำให้หน้าที่จัดเลย์เอาท์ไว้ดีๆ รวนไปเสียจนอ่านไม่รู้เรื่องก็มี อันนี้นับเป็นข้อจำกัดอันหนึ่งในการแปลงไฟล์ที่จัดหน้าแบบหนังสือให้กลายเป็น e-book ซึ่งไม่ใช่ว่าจะแก้ไขไม่ได้ แต่ต้องจัดการกันอย่างพิถีพิถันหน่อย

กลุ่มที่สอง คือพวกที่เพิ่มมัลติมีเดีย วิดีโอ เสียงประกอบ ฯลฯ เข้าไป เช่นบางภาพแทนที่จะดูภาพนิ่งก็กลายเป็นวิดีโอแทน มีเสียงบรรยายประกอบบางช่วง มีดนตรีประกอบเพื่อสร้างบรรยากาศในการอ่าน ซึ่งเป็นไปได้ทั้งนิยาย (ที่อาจจะต้องสร้างบางฉากเป็นหนังสั้นแบบมิวสิควิดีโอหรือ mv) หรือสารคดีที่ผสมกันระหว่างคำบรรยายกับภาพและเสียง

หนังสือนำเที่ยวเชียงใหม่ (ซ้าย) VS แอพพลิเคชั่นนำเที่ยวเชียงใหม่บน iPhone (ขวา) พัฒนาโดยโปรวิชั่น หนังสือดูเพิ่มที่ www.provision.co.th (ขอโฆษณาหน่อยนะครับ สำหรับแอพคงจะเปิดให้โหลดได้เร็วๆนี้ครับ)

กลุ่มที่สาม อาจจะเรียกว่ามีพัฒนาการขึ้นไปอีกขั้น จนไม่แน่ใจว่ายังควรจะเรียกว่า e-book, application หรือ game กันแน่ คือกลุ่มที่เพิ่มเอฟเฟ็คต์และความสามารถในการโต้ตอบกับผู้อ่านเข้าไปด้วย เช่นหนังสือนิยายผจญภัยประเภทที่ให้ผู้อ่านเลือกฉากที่จะเล่น (อ่าน) เองได้ หนังสือท่องเที่ยวที่มีแผนที่และข้อมูลสถานที่ต่างๆ สัมพันธ์กับตำแหน่งปัจจุบันของผู้ใช้ เป็นต้น

จากที่เล่ามาจะเห็นว่า ทั้งหนังสือฉบับพิมพ์แบบเดิมและ e-book ในกลุ่มแรกที่เป็นพวก e-book แบบดั้งเดิมหรือ traditional น่าจะได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิตอลค่อนข้างมาก ด้วยความที่มันมีปริมาณข้อมูลค่อนข้างน้อยและนิ่ง ถ้าเป็นหนังสือเล่มก็อาจถูกสแกน (ความจริงเดี๋ยวนี้ไม่ต้องสแกน แค่ใช้กล้องในมือถือระดับไม่น้อยกว่า 5 ล้านพิกเซลก็ถ่ายชัดจนอ่านได้สบายแล้ว) ถึงแม้จะมีระบบป้องกันที่เรียกว่า DRM (Digital Right Management) ก็ยากจะป้องกันได้ทั่วถึงในระยะยาว (ปัญหาคล้ายกับที่อุตสาหกรรมเพลงเจอมาแล้วและเลิกใช้ DRM ไปในที่สุด แต่วงการหนังยังใช้อยู่) ยิ่งเป็นหนังสือเป็นหน้าๆ พอลงในจอ e-book ยิ่งก๊อปปี้ง่าย แค่ capture หน้าจอก็ได้แล้ว ยิ่งถ้า เนื้อหาหรือ content เป็นแบบข้อความนิ่งๆ เช่น วรรณกรรม ยิ่งมีโอกาสถูกก๊อปปี้ได้มากและไม่มีโอกาสที่จะปล่อย content ใหม่ออกมาทดแทนง่ายๆ เรียกว่าหลุดแล้วหลุดเลย ต่างกับพวกที่เป็นสาระความรู้หรือ non-fiction ที่ยังมีการอัพเดทใหม่ๆ ออกมา ทำให้ content ที่ถูกก๊อปปี้ไปด้อยค่าเพราะล้าสมัยไปตามเวลา

Read more

Electronic Publication

ผมได้รับเชิญจากชมรมการจัดพิมพ์อิเล็กทรอนิกไทย (TEPCLUB) ให้ไปบรรยายเรื่อง Electronic Publication (Module 1 of 4) วันที่ 30 ตุลาคม 2553 ที่ชั้น 7 ห้อง 703 อาคารพิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีทางภาพ ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางภาพถ่ายและเทคโนโลยีทางการพิมพ์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Module นี้เป็นการแนะนำอย่างกว้างๆ ถึงเทคโนโลยี E-publishing (E-book, E-Magazine, etc.) และผลกระทบต่อผู้เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมนี้ใน ด้านต่างๆ เช่น ผู้อ่าน ผู้เขียน สำนักพิมพ์ โรงพิมพ์ สายส่ง ร้านหนังสือ (บรรยายร่วมกับ อ.ธีระ ปิยคุณากร และคุณประสิทธิ์ คล่องงูเหลือม)

อีก 3 โมดูลที่เหลือจะเริ่มตั้งแต่เสาร์ที่ 6 พฤศจิกายน 2553 เป็นต้นไป ดูรายละเอียดได้ที่ http://www.tepclub.org/?page_id=1152 นะครับ

ส่วนสไลด์ที่บรรยาย ในรูปแบบ PDF ดาวน์โหลดได้โดยคลิกที่รูปข้างล่างเลยครับ

E-book จริงหรือที่ว่ามันคืออนาคตของการอ่าน ?

หมายเหตุ: บทความนี้จะเป็นการสรุปเนื้อหาที่ผมเตรียมไปพูดแบบ #ignite ในงาน Ignite Bangkok (www.ignitebangkok.com) ในวันที่ 3-4 มีนาคมที่จะถึงนี้ที่ ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC – เอ็มโพเรียม สุขุมวิท) ห้อง Auditorium ดังนั้นจึงจะมีการอัพเดทเป็นระยะจนกว่าจะเขียนเสร็จ (ซึ่งก็คงใกล้วันงานพอดี) สำหรับใครที่ยังไม่รู้จักการพูดแบบ ignite ก็เข้าไปดูที่เว็บดังกล่าวได้ สรุปสั้นๆก็คือให้พูดเรื่องอะไรก็ได้ แต่มีเวลาแค่ 5 นาทีและ 20 สไลด์ โดยสไลด์จะเปลี่ยนเองทุกๆ 15 วินาที? เนื้อหาจึงต้องกระชับ ไม่เยิ่นเย้อ ตามสโลแกนที่ว่า “enlighten us, but make it quick”

สำหรับวิดีโอที่ไปพูด ดูได้ที่นี่ครับ (5 นาที)

[vodpod id=Video.3219271&w=480&h=270&fv=]

Amazon's Kindle DX

Amazon's Kindle DX

เนื้อหาโดยย่อ: ถึงตอนนี้ใครๆก็เริ่มตื่นเต้นกับเครื่องอ่าน e-book ในสารพัดรูปแบบที่กำลังจะออกมาให้ใช้กัน ไม่ว่าจะเป็น iPad, Kindle, Nook, G-Tablet หรืออื่นๆ แต่อนาคตของ e-book จะเป็นอย่างไร และมันจะทำให้เราเลิกอ่านหนังสือบนกระดาษกันได้จริงๆหรือ ประเด็นสำคัญอยู่ตรงไหนกันแน่ ในฐานะของคนที่อยู่ตรงกลางระหว่างหนังสือกับเทคโนโลยี คือเป็นทั้งคนทำหนังสือด้าน IT และอยู่ในแวดวงหนังสือมานับสิบปี ขอรวบรวมข้อมูลและข้อคิดเห็นล่าสุดจากหลายมุมมองมาเล่าสู่กันฟัง

16 เรื่องที่คุณควรรู้เกี่ยวกับ E-book

1. E-book เริ่มมีมานานแล้วบน PC/Mac ?แต่เพิ่งจะเริ่มได้รับความสนใจมากเมื่อเร็วๆนี้

ที่เป็นอย่างนั้นก็เพราะแต่เดิม E-book เป็นแบบที่ต่างคนต่างทำ มีหลากรูปแบบ หลายมาตรฐาน บางรายทำแบบ proprietary กันมานาน แต่ละคนมี tool ของตัวเอง บางคนก็ใช้ไฟล์แบบ PDF เพื่อให้เปิดได้ทุกที่ บางคนก็ทำโดยใช้โปรแกรมอย่าง Adobe Flash เพื่อเน้น effect ทางด้าน multimedia ผสมกับวิดีโอ แต่ที่เหมือนกันคือส่วนมากจะทำให้อ่านบนเครื่องคอมพิวเตอร์ จนกระทั่งเมื่อเร็วๆนี้ที่มือถือแบบ Smartphone ซึ่งมีจอขนาดใหญ่ได้รับความนิยมแพร่หลาย จึงมีคนทำทั้งโปรแกรมอ่านและตัวหนังสือ E-book เองให้อ่านได้บนมือถือเหล่านั้น ตัวอย่างเช่น เครื่องอ่าน E-book ของ Amazon ที่เรียกว่า Kindle มีโปรแกรมที่ทำให้อ่านไฟล์แบบเดียวกันได้บน Smartphone หลายๆ ค่าย

2. ในปีนี้ (2010) จะมีผู้ผลิตเครื่อง E-book reader ออกมามากมายในรูปแบบของ Tablet computer

ทั้งนี้เพราะเทคโนโลยีต่างๆ เริ่มจะเข้าที่และดีพอที่จะทำเครื่องออกมา และแต่ละรายก็พยายามหาจุดขายที่เป็นได้มากกว่าเครื่องอ่าน E-book เฉยๆ กลายเป็นคอมพิวเตอร์ส่วนตัวในรูปแบบใหม่ ที่ฮือฮาที่สุดก็คงไม่พ้น Apple ที่เปิดตัว iPad ก่อนใคร (อ่านเรื่อง ?iPad: ฤาจะเป็นแพลทฟอร์มนี้ที่เปลี่ยนโลก? ได้ใน D+Plus ฉบับที่แล้ว) และตามมาติดๆด้วย G-Tablet (ชื่อยังไม่เป็นทางการ) ของ Google ที่น่าจะใช้ระบบปฏิบัติการกึ่งบราวเซอร์อย่าง Chrome (ของกูเกิ้ลเอง ซึ่งมีหน้าตาแบบเดียวกับบราวเซอร์ Chrome ที่กูเกิ้ลแจกฟรีให้ใช้กันอยู่) ออกมาด้วย ทั้งหมดนี้ทำเอาค่ายที่ขายหนังสือและ E-book reader เป็นหลักอยู่อย่าง Amazon ที่ขาย Kindle ต้องปรับตัวขนานใหญ่ หรือแม้แต่ Barnes and Noble เชนร้านหนังสือใหญ่ของอเมริกา ต้องเปิดตัวเครื่องอ่าน E-book ของตนในชื่อ Nook ออกมาสู้ ส่วนอีกทางหนึ่งบรรดาผู้ผลิตคอมพิวเตอร์ทั้งหลายเช่น Acer, HP, Dell ก็ต้องออก Tablet computer โดยใช้ระบบปฏิบัติการทชั้หลากหลาย มีทั้ง Chrome ของ Google หรือ Windows 7 ของไมโครซอฟท์มาเอี่ยวด้วย ทั้งหมดนี้มากพอจะทำให้ตลาดอุปกรณ์สายพันธ์ใหม่นี้เดือดได้ทีเดียว

Read more

Cloud Computing คอมพิวเตอร์แบบอึมครึม

Cloud Computing

(ปี 2526 ? ยุคที่เพิ่งจะเริ่มมีเครื่อง IBM PC ได้ไม่นาน)

บก. เทคนิคของวารสารคอมพิวเตอร์เล่มหนึ่ง เขียนด้วยลายมือขยุกขยิกไว้ในต้นฉบับของบทบรรณาธิการทำนองนี้ ??ในอนาคต คุณอาจเรียกใช้คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงกันเป็นเครือข่าย โดยไม่ได้รับรู้เลยว่าโปรแกรมที่คุณเรียกนั้นไปทำงานอยู่บนเครื่องไหน มีเพียงผลลัพธ์เท่านั้นที่ถูกส่งกลับมาแสดงบนเครื่องตรงหน้าคุณ?? เขาเขียนต่อไปจนจบหน้า บรรยายถึงระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งยังไม่มีอยู่จริง ด้วยหวังว่าจะสร้างภาพอนาคตให้ผู้อ่านได้ตระหนักถึงความก้าวหน้าและโอกาสอีกมากมายที่จะตามมาในอนาคต เขานั่งเขียนต้นฉบับด้วยลายมือ เพราะยุคนั้นคอมพิวเตอร์ยังแพงเกินกว่าที่ออฟฟิศเล็กๆ จะมีให้ใช้ได้ครบคน น่าเสียดายที่วารสารฉบับนั้นไม่มีโอกาสได้ตีพิมพ์บทความเกี่ยวกับระบบคอมพิวเตอร์ที่ บก. คาดคะเนเอาไว้ในวันที่เกิดขึ้นจริง เพราะมันจำเป็นต้องปิดตัวเองลงหลังจากนั้นไม่นาน

(ปี 2552 ? ที่เราอาจเรียกกันว่า ?ปัจจุบัน?)

บก. คนเดิมนั่งปั่นต้นฉบับ (ปั่น (กริยา) ? การเขียนด้วยความเร็วสูงกว่าปกติเพื่อให้ทันใช้งานแบบฉุกเฉิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อกำหนดส่งงานใกล้จะมาถึง หรือบางทีก็เลยไปแล้วหลายวัน 😉 ให้กับวารสารอีกเล่มหนึ่ง เขาเริ่มต้นด้วยการเปิดบราวเซอร์ขึ้นมา เรียกใช้โปรแกรมGoogle Documents แล้วคีย์ข้อความลงไป ด้วยวิธีนี้ ต้นฉบับของเขาจะถูกเก็บอยู่บนเว็บ และสามารถเรียกใช้ได้จากเครื่องไหนก็ได้ในโลก ขอเพียงมีชื่อผู้ใช้และรหัสผ่านที่ถูกต้อง และไม่ว่าคอมพิวเตอร์ที่เขาใช้จะรันระบบปฏิบัติการอะไร ตั้งแต่ Windows, Mac OS หรือ Linux หรือคุณสามารถทำงานได้สารพัดอย่าง โดยไม่จำเป็นต้องรู้เลยว่ากำลังใช้งานคอมพิวเตอร์เครื่องไหนอยู่ จะเป็นเครื่องตั้งโต๊ะขนาดใหญ่ เครื่องเน็ตบุ๊คตัวเล็ก (ในอนาคตคงจะรวมไปถึงโทรศัพท์มือถือ แต่วันนี้เขายังทำได้แค่เรียกดูเอกสารเท่านั้น แก้ไขยังไม่ได้) ต่างก็สามารถใช้งานได้เท่าๆกัน เขาไม่เคยมีไอเดียเลยว่าเอกสารนี้ถูกเก็บอยู่ในเครื่องที่มุมไหนของโลก หรือโปรแกรมที่ใช้คีย์ข้อมูลแบ่งหน้าที่กันอย่างไรระหว่างหน้าจอที่เขากำลังคีย์เข้าไป กับการจัดเก็บเอกสารในเครื่องเซิร์ฟเวอร์ รู้แต่ว่าจะเรียกใช้มันอย่างไรเท่านั้น และพอคลิกปุ่ม Save เอกสารทั้งหมดก็จะถูกเก็บไว้ให้เรียกใช้ได้เสมอ (ตราบใดที่เน็ตไม่ล่ม)

บก. คนเดิมนั่งปั่นต้นฉบับไปจนจบ พลางนึกไปถึงวันที่เขาเขียนบรรยายระบบคอมพิวเตอร์ที่ยังมาไม่ถึงนั้น เสียดายว่าถ้าเขารู้ว่ามันจะออกมามีหน้าตาเป็นอย่างไร ก็อาจจะไปจับไปทำเองเสียตั้งแต่ตอนนั้น ป่านนี้คงจะรวยไม่รู้เรื่อง ไม่ต้องมานั่งปั่นต้นฉบับอยู่อย่างนี้…

Read more